วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

งานโปรแกรม Macromedia Flash 8

นามสกุลของ Flashสิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องทราบในการใช้งาน Flash คือ นามสกุลของไฟล์ Flash ซึ่งเราสามารถบันทึกไฟล์ Flash ด้วยนามสกุล หลักๆ 2 ชนิด คือ
• .fla คือไฟล์ที่ได้จากการสร้างชิ้นงานใน Flash ที่เกิดจากการบันทึกเป็นไฟล์ต้นฉบับ ซึ่งสามารถนำมาเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ *.fla ย่อมาจาก Flash Movie หรือเรียกว่า Movie
• .swf คือไฟล์ที่ Flash สร้างขึ้น หลังจากแสดงผลออกมา สามารถดับเบิลคลิกดูผลการแสดงได้ โดยไม่ต้องเปิดโปรแกรม Flash ซึ่งไฟล์ *.swf ย่อมาจาก Shockwave Flash
นอกจากนั้น เมื่อสั่งให้ Flash ทำการ Publish หรือเผยแพร่งานออกมาทางหน้าเว็บ จะต้องกำหนดให้ Flash สร้างไฟล์ .html เพิ่ม และเลือกไฟล์ที่มีสกุล 2 ชนิด คือ *.html กับ *.swf ซึ่ง *.html จะเป็นตัวเรียกไฟล์ *.swf ขึ้นมา เพื่อแสดงเป็นภาพเคลื่อนไหวบนหน้าเว็บ

นามสกุลของ Flash
สิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องทราบในการใช้งาน Flash คือ นามสกุลของไฟล์ Flash ซึ่งเราสามารถบันทึกไฟล์ Flash ด้วยนามสกุล หลักๆ 2 ชนิด คือ
• .fla คือไฟล์ที่ได้จากการสร้างชิ้นงานใน Flash ที่เกิดจากการบันทึกเป็นไฟล์ต้นฉบับ ซึ่งสามารถนำมาเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ *.fla ย่อมาจาก Flash Movie หรือเรียกว่า Movie
• .swf คือไฟล์ที่ Flash สร้างขึ้น หลังจากแสดงผลออกมา สามารถดับเบิลคลิกดูผลการแสดงได้ โดยไม่ต้องเปิดโปรแกรม Flash ซึ่งไฟล์ *.swf ย่อมาจาก Shockwave Flash
นอกจากนั้น เมื่อสั่งให้ Flash ทำการ Publish หรือเผยแพร่งานออกมาทางหน้าเว็บ จะต้องกำหนดให้ Flash สร้างไฟล์ .html เพิ่ม และเลือกไฟล์ที่มีสกุล 2 ชนิด คือ *.html กับ *.swf ซึ่ง *.html จะเป็นตัวเรียกไฟล์ *.swf ขึ้นมา เพื่อแสดงเป็นภาพเคลื่อนไหวบนหน้าเว็บ

ส่วนประกอบ คำอธิบาย


Show Frame



Show All การแสดง Stage ให้ใหญ่ที่สุดเท่าที่พื้นที่ว่างของโปรแกรมจะทำได้ โดยไม่คำนึงถึงว่า จะมีรูปเกินออกมานอก Stage แค่ไหน
การแสดง Stage ให้เห็นรูปหรือวัตถุทั้งหมด แม้จะอยู่นอก Stage ก็ตาม

แก้ไขซีน (Edit Scene)
เป็นปุ่มที่ใช้แสดงซีน (Scene) หรือฉากต่างๆ ที่ได้มีการสร้างไว้ ซึ่งจะใช้ในการสลับซีนต่างๆ โดยคลิกเมาส์ที่ปุ่ม หรือกดแป้น + ก็จะแสดงซีนที่ได้สร้างไว้ ให้เลือกว่าจะให้แสดงซีนไหนก่อนหรือหลัง

แก้ไขเวที (Edit Stage)
เป็นปุ่มที่แสดงวัตถุที่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงเป็น Symbol แล้ว เพื่อที่จะทำการแก้ไขวัตถุนั้น โดยคลิกเมาส์ที่

ปุ่ม เพื่อแสดง Symbol ต่างๆ จากนั้นให้เลือกและทำการแก้ไข

หลักการทำงานของ Flash
ก่อนที่จะเริ่มใช้ Flash นั้นจะต้องรู้ว่าการสร้างชิ้นงานนั้นมีหลักอย่างไร ทั้งนี้เมื่อเข้าใจหลักการทำงานของ Flash แล้ว การใช้ Flash ก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

ขั้นตอนที่ 1 เป็นการนำภาพที่สร้างขึ้น หรือที่ได้มาจากที่อื่นมาวางบน Stage
ขั้นตอนที่ 2 ทำการแปลงวัตถุนั้นเป็น Symbol ซึ่งเป็นลักษณะที่ Flash สามารถนำไปทำเป็น Animation ได้
ขั้นตอนที่ 3 เป็นขั้นตอนที่จะมาทำ Symbol ให้เป็น Animation ซึ่งในขั้นตอนนี้สามารถจะใส่เสียง หรือ Script คำสั่งเพิ่มเติมลงไปได้
ขั้นตอนที่ 4 เมื่อสร้างชิ้นงานเสร็จแล้ว ก็ทำการ Publish หรือทำการแปลงชิ้นงาน ออกสู่สายตาประชาชน
หน้าต่างควบคุมการแสดงผล (Panel)
ในโปรแกรม Macromedia Flash 8 จะมีหน้าต่างหรือ Panel ที่รวบรวมเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้งานกับวัตถุ โดยจะถูกจัดไว้ที่บริเวณด้านขวาของโปรแกรม ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาไปเปิดหา และมีการจัดหมวดหมู่ไว้แล้ว นอกจากนี้แล้วยังสามารถที่จะยุบหรือขยายหน้าต่างเพื่อให้ใช้พื้นที่ได้เต็มที่ โดยมีหน้าต่างที่สำคัญ ดังนี้

Panel Info เป็นหน้าต่างที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุ

W แสดงความกว้างของวัตถุ
H แสดงความสูงของวัตถุ
X แสดงตำแหน่งของเมาส์ในแกน X
Y แสดงตำแหน่งของเมาส์ในแกน Y
Panel Transform

เป็นหน้าต่างที่ใช้ปรับขนาด การบิด การหมุนวัตถุ โดยที่
• Constrain ใช้ย่อและขยายวัตถุให้เปลี่ยนไปตามสัดส่วนที่ย่อหรือขยาย
• Rotate ใช้กำหนดมุม เพื่อหมุนวัตถุ
• Skew ใช้บิดวัตถุ
Panel Color Mixer

เป็นหน้าต่างที่ช่วยในการผสมสี ซึ่งใช้โหมด RGB สามารถเลือกสีที่ต้องการได้ โดย...
• R ปรับสีแดงให้วัตถุ
• G ปรับสีเขียวให้วัตถุ
• B ปรับสีน้ำเงินให้วัตถุ

Panel Swatches

เป็นหน้าต่างที่จัดเรียงสีไว้ และทำการไล่สี ทำให้สามารถเลือกสีใช้ได้ง่ายขึ้น
Panel Align

เป็นหน้าต่างที่ใช้สำหรับจัดเรียงวัตถุให้เรียงอยู่ในแนวเดียวกัน ซึ่งมักจะมีลักษณะและรูปแบบต่างๆ โดยใช้เรียงวัตถุตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป
Panel Scene

เป็นหน้าต่างที่ใช้สลับพื้นที่การทำงาน (Scene) ซึ่งจะใช้ในกรณีที่มีการสร้างชิ้นงานที่มีความยาว และมีการเปลี่ยนรูปแบบของพื้นที่ทำงาน (เหมือนการเปลี่ยนฉาก เช่น เปลี่ยนจากฉากเริ่มต้นเป็นฉากต่อสู้) และเป็นส่วนสำหรับการกำหนดให้ Scene ใดเริ่มทำงานก่อน เมื่อเรียกใช้
Panel Movie Explorer

เป็นหน้าต่างที่ใช้ดูโครงสร้างของงานที่สร้างขึ้น (เรียกว่า Flash Movie) ทั้งหมด รวมทั้งใช้ค้นหาวัตถุที่ถูกสร้างขึ้นในชิ้นงานนั้นด้วย ซึ่งจะมีปุ่มต่างๆ สำหรับแสดงชนิดของวัตถุที่สร้างไว้ในชิ้นงานนั้นประกอบด้วย
• Show เป็นปุ่มที่ใช้แสดงวัตถุชนิดต่างๆ ที่อยู่ในชิ้นงาน
• Find ใช้สำหรับค้นหาวัตถุที่อยู่ในชิ้นงาน
Panel Properties

เป็นหน้าต่างที่ใช้แสดงคุณสมบัติต่างๆ ของวัตถุและสามารถเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติเหล่านั้นได้ ในหน้าต่างนี้ เช่น หากคลิกเมาส์ที่พื้นที่การทำงาน (Stage) ก็จะแสดงคุณสมบัติต่างๆ ของพื้นที่การทำงานออกมาดังรูป ได้แก่
• Size ขนาดของพื้นที่การทำงาน
• Publish เวอร์ชั่นของ Flash
• Background สีของพื้นหลัง
• Frame Rate ความเร็วในการแสดง Frame Rate ต่อวินาที (ซึ่ง Flash กำหนดความเร็วไว้ที่ 12 Frame ต่อวินาที) หน้าต่างนี้จะแสดงคุณสมบัติของวัตถุที่คลิกเมาส์ลงไป ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติไปตามวัตถุนั้น
Panel Action

เป็นหน้าต่างที่ใช้กำหนดการกระทำให้กับวัตถุ และ Frame ที่กำลังแสดงอยู่ โดยสามารถเขียน Script ให้กับวัตถุหรือ Frame เพื่อแสดงสิ่งที่กำหนด



Panel Library

ในการทำงานของ Flash แต่ละงาน อาจนำไฟล์ภาพเคลื่อนไหวหรือเสียงมาใช้ประกอบกันในงานได้ ซึ่งหน้าต่าง Library จะเป็นตัวรวบรวมไฟล์ต่างๆ เหล่านี้ไว้ รวมทั้งไฟล์ที่สร้างเองด้วย หากต้องการใช้งานไฟล์เหล่านี้อีก ก็ให้ลากจาก Library มาวางบน Stage เท่านั้น ก็สามารถเปิดหน้าต่าง Library มาใช้ โดยเลือกคำสั่ง Window --> Library เป็นอันเรียบร้อย
หน้าต่างการทำงาน หรือเวที (Stage)
หน้าต่างการทำงาน หรือเวที (Stage)
เป็นหน้าต่างในการทำงาน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เวที (Stage) ซึ่งเป็นพื้นที่ว่างๆ สำหรับการสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animation) โดยให้เราเป็นผู้กำกับการแสดง เมื่อสร้างงานหรือวางวัตถุบน Stage จะเรียกภาพรวมนี้ว่า ซีน (Scene)


การปรับขนาดหน้าต่างการทำงาน
สำหรับขนาดหน้าต่างการทำงาน โดยปกติโปรแกรมจะกำหนดขนาดให้เป็น 550 x 440 pixels สามารถปรับเปลี่ยนขนาดได้โดยการเปลี่ยนที่คุณสมบัติ (Properties) ดังนี้
คลิกที่ Properties > Size เปลี่ยนขนาดตามต้องการ

ตรง Size : สามารถเปลี่ยนขนาดได้ โดยคลิก ที่ปุ่ม
ใส่ตัวเลขเพื่อเปลี่ยนขนาด

ตรง Dimension : ใส่ตัวเลขลงไป เพื่อระบุความกว้าง (Width) และความสูง (Height) เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK


วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เอปสันเปิดตัวอุปกรณ์ขวัญใจช่างภาพมืออาชีพ เอปสัน พี-6000 และ พี-7000 ดาวน์โหลดภาพเร็วขึ้น 35%


กรุงเทพฯ--29 ก.ย.--พีอาร์พีเดีย เอปสันผู้นำด้านภาพดิจิตอลระดับโลกเปิดตัวมัลติมีเดียสตอเรจวิวเวอร์รุ่นใหม่ล่าสุดสำหรับผู้รักการถ่ายภาพและช่างภาพมืออาชีพ Epson P-6000 และ Epson P-7000 ซึ่งโดดเด่นด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด EPSON Photo Fine Premia แอลซีดี คุณภาพสูงขนาดใหญ่ 4 นิ้ว ที่ฝังเม็ดสีทั้ง 4 สีใน 1 พิกเซล รองรับสเปคตรัมสีได้มากขึ้นถึง 94% ของ AdobeRGB พร้อมแสดงผลในขนาด 24 บิต จึงแสดงภาพถ่ายในสีสันสดใสเป็นธรรมชาติมากที่สุด เพิ่มความจุใจด้วยความจำขนาด 80 กิกะไบต์และ 160 กิกะไบต์ตามลำดับ และสปีดการดาวน์โหลดที่เร็วขึ้นถึง 35% ใช้งานง่ายด้วยปุ่มกดโฉมใหม่แบบวงกลม และฟังก์ชั่นใหม่ เช่น RAW—PhotoEnhance ช่วยจับหน้าคนและปรับภาพ เพิ่มความสะดวกในการเลือกภาพที่ดีที่สุด และฟังก์ชั่นการดาวน์โหลดรูปเฉพาะข้อมูลใหม่จากการ์ด นอกจากนี้ยังออกแบบให้รองรับการ์ดความจำรุ่นใหม่ เช่น CF การ์ดแบบ UDMA (Ultra Direct Memory Access) และ SD การ์ดแบบ SDHC (Secure Digital High Capacity) Epson P-6000 ราคา 35,900 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และ Epson P-6000 ราคา 39,900 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ เอปสันฮอตไลน์ โทรศัพท์ 02-685-9899